วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

การทำพินัยกรรม

       คนไทยอาจจะถือว่าเป็นการแช่งตัวเอง แต่ถ้าดูอีกนัยหนึ่งแล้ว เป็นการเตรียมการสำหรับอนาคตที่ดี และจะได้ไม่เกิดปัญหาเรื่องการแบ่งทรัพย์สินเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันเกิดขึ้นกับคุณ และไม่ทำให้ผู้ที่อยู่เบื้อหลังยุ่งยากกับการจัดการแบ่งสรรปันส่วนกับทรัพย์สินที่คุณทิ้งไว้
        ความหมายของพินัยกรรม คือ คำสั่งครั้งสุดท้ายซึ่งแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินหรือกิจการต่างๆ ของผู้ทำพินัยกรรมเพื่อที่จะเกิดผลบังคับตามกฎหมาย ในเมื่อผู้ทำพินัยกรรมถึงแก่ความตาย โดยทำแบบใดแบบหนึ่งที่กฎหมายกำหนดไว้ คือ
           __scale__1_2418430953.gif image by fuyu_034   พินัยกรรมทำเป็นเอกสารฝ่ายเมือง        
                            1.  เงื่อนไขการทำพินัยกรรม            
                                1.2  ผู้ทำพินัยกรรมต้องมีอายุตั้งแต่ 15 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป              
                                1.3  ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือไร้ความสามารถ
   
                            2. ขั้นตอนการทำพินัยกรรมทำเป็นเอกสารฝ่ายเมือง
                                2.1  ผู้ร้องยื่นคำร้องขอทำพินัยกรรมทำเป็นเอกสารฝ่ายเมือง ณ ที่ว่าการอำเภอ
                                       กิ่งอำเภอ   เขต แห่งใดก็ได้โดยไม่ต้องคำนึงถึงภูมิลำเนา
                                2.2  ในกรณีผู้ร้องขอให้เจ้าหน้าที่ออกไปทำพินัยกรรมนอกที่ว่าการอำเภอ
                                       กิ่งอำเภอ   เขต    ภายในเขตอำนาจ จะต้องจัดหาพาหนะรับส่ง หรือจ่ายค่า
                                       พาหนะให้แก่เจ้าหน้าที่ตามสมควร

                           3.  หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง
                               3.1  บัตรประจำตัวประชาชน
                               3.2  เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ประสงค์จะทำพินัยกรรม (ถ้ามี)

            __scale__1_2418431058.gif image by fuyu_034  พินัยกรรมทำเป็นเอกสารลับ
                          1. ขั้นตอนการทำพินัยกรรมทำเป็นเอกสารลับ
                              1.1  ผู้ร้องทำพินัยกรรมขึ้นเองและผนึกซอง พร้อมกับลงลายชื่อคำบรรยายผนึกนั้น  
                              1.2  ผู้ร้องยื่นคำร้องพร้อมของพินัยกรรม ณ ที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ เขต แห่งใด
                                     ก็ได้โดยไม่ต้องคำนึงถึงภูมิลำเนา

                          2. หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง
                              2.1  บัตรประจำตัวประชาชน
                              2.2  ซองซึ่งบรรจุพินัยกรรมไว้และปิดผนึกซองเรียบร้อยแล้ว


อัตราค่าธรรมเนียมการพินัยกรรม

                        
                         1.  พินัยกรรมทำเป็นเอกสารฝ่ายเมือง ในที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ เขต ฉบับละ 50 บาท
                         2.  พินัยกรรมทำเป็นเอกสารฝ่ายเมือง นอกที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ เขต ฉบับละ
                               100  บาท
                         3.  พินัยกรรมทำเป็นเอกสารลับ ฉบับละ 20 บาท
                         4.  ค่าคัดและรับรองสำเนาพินัยกรรมฉบับละ 10 บาท
                         5.  ค่าป่วยการพยานและล่ามไม่เกินวันละ 50 บาท 

          ที่มา :  จากหนังสือกฎหมายควรรู้ในชีวิตประจำวัน
       

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น