วันพุธที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2554

การครอบครองปรปักษ์

   


การครอบครองปรปักษ์นั้น เป็นสิ่งที่ไม่ค่อยคุ้นหูกันนัก แต่คุณควรรู้ไว้เพื่อที่จะได้ไม่เสียทรัพย์สินของตนเองไป เพราะมีผู้อื่นมาใช้ทรัพย์สินของคุณเป็นเวลานานโดยที่คุณคิดว่าไม่เป็นไร

ครองครองปรปักษ์
     หมายถึง การเสียสิทธิในทรัพย์สินของตนโดยการถูกผู้อื่นแย่งการครอบครอง หรือในทางหลักทฤษฏีกฏหมายเรียกว่า " อายุความได้สิทธิ "
     การครองครองปรปักษ์ เป็นการที่บุคคลอื่นจะได้สิทธิหรือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของเราโดยการครอบครองตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ว่า "บุคคลใดครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ถ้าอสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อเป็นเวลา 10 ปี ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ติดต่อกันเป็นเวลา 5 ปีไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นได้กรรมสิทธิ์"

     หลักเกณฑ์แห่งการครอบครองปรปักษ์จนได้กรรมสิทธิ์ ประกอบด้วยหลักเกณฑ์ 6 ประการ ดังนี้
     1. ครอบครอง หมายถึง กิริยายึดถือทรัพย์สิน เช่น เข้าทำประโยชน์ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ในเรือกสวนไร่นา ถือว่าได้ครอบครองเรือกสวนไร่นานั้นแล้ว เป็นต้น
     2. ทรัพย์สินของผู้อื่น หมายถึง ทรัพย์สินที่เจ้าของมีกรรมสิทธิ์อยู่ในกรณีที่ดินจะต้องเป็นที่ดินที่มีโฉนดหรือตราจองเท่านั้น
     3. โดยสงบ คือ การครอบครองโดยปราศจากการข่มขู่ การใช้กำลัง การหลอกลวง และไม่มีใครมาหวงห้ามกีดกัน  แสดงความเป็นเจ้าของ หรือฟ้องร้องขับไล่
     4. โดยเปิดเผย คือ การครอบครองโดยมิได้หลบซ่อนเร้น ปิดบัง หรืออำพรางใดๆ
     5. ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ คือ การครอบครองโดยเจตนาตั้งใจที่จะเป็นเจ้าของทรัพย์สินนั้น ไม่ใช่การครอบครองแทนผู้อื่น เช่น คนสวนเฝ้าสวนแทนเจ้าของสวน หรือการครอบครองตามสัญญาที่ได้ให้อำนาจไว้ เช่น การครอบครองที่นาเพื่อทำนาตามสัญญาเช่านา เป็นต้น
     6. ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ติดต่อกัน 10 ปี หรือสังหาริมทรัพย์ 5 ปี ความหมายของ "อสังหาริมทรัพย์" โดยทั่วๆไป หมายถึง ที่ดิน รวมทั้งทรัพย์ที่ติดกับที่ดิน เช่น ตึกรามบ้านช่อง อาคารถาวรวัตถุ เป็นต้น "สังหาริมทรัพย์" ก็คือ ทรัพย์ที่ขนเคลื่อนที่ได้นั่นเอง การครอบครองปรปักษ์จะได้กรรมสิทธิ์ต้องปรากฏว่า ครอบครองติดต่อกันตลอดมาเป็นเวลานานตามกฏหมายกำหนดไว้ด้วยหลักเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้นต้องเป็นทรัพย์สินที่เจ้าของมีกรรมสิทธิ์อยู่ และถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันนานถึง 10 ปี กรณีที่ดินที่มีหลักฐานต่อไปนี้ ถือว่ามีสิทธิครอบครอง ไม่ถือว่ามีกรรมสิทธิ์ซึ่งรู้จักหรือเรียกกันว่า "ที่ดินมือเปล่า" คือ
     1. น.ส.3      เรียกย่อจากคำว่า หนังสือรับรองการทำประโยชน์ เป็นแบบเก่า
     2. น.ส.3 ก. หนังสือรับรองการทำประโยชน์ ออกโดยใช้การถ่ายรูปทางอากาศ
     3. น.3.2      ใบจอง เป็นหนังสือที่รัฐอนุญาตให้ครอบครองที่ดินชั่วคราว
     4. น.ส.5      ใบไต่สวน เป็นหนังสือที่ทำขึ้นเพื่อการจะออกโฉนดที่ดิน
     5. ใบนำ       เป็นหนังสือที่ออกให้แก่ผู้ครอบครองที่ดิน นำเจ้าพนักงานรังวัดที่ดิน
     6. ส.ค.1       เป็นหนังสือแจ้งการครอบครอง
     7. ที่ดินที่มีสิทธิครอบครองแล้ว แม้ไม่มีหนังสือสำคัญใดๆ แสดงสิทธิเลย
    
     ที่ดินมือเปล่าข้างต้นเจ็ดข้อ การถูกแย่งการครอบครองไม่ใช้อายุความ 10 ปี ตามมาตรา 1382 แต่ว่าจะอยู่ในบังคับของบทบัญญัติมาตรา 1376 "ถ้าผู้ครอบครองถูกแย่งการครอบครองโดยมิชอบด้วยกฎหมายไซร้ ท่านว่าผู้ครอบครองมีสิทธิจะได้คืนซึ่งการครอบครอง เว้นแต่อีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิเหนือทรัพย์สินดีกว่า ซึ่งจะเป็นเหตุให้เรียกคืนจากผู้ครอบครองได้ การฟ้องคดี เพื่อจะเอาคืนซึ่งการครอบครองนั้น ท่านว่าต้องฟ้องภายใน 1 ปี นับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครอง"

     ดังนั้น  บรรดาเจ้าของที่ดินมือเปล่าจะต้องขยันมากกว่าเจ้าของที่ดินมีกรรมสิทธิ์ คือ จะต้องเอาใจใส่หมั่นไปดูแลที่ดินของตนอย่างน้อยปีละครั้ง เพราะหากมีผู้อื่นมาแย่งการครอบครองบุกรุกเข้ามาจะได้ทักท้วงหวงห้ามปกป้องสิทธิของตนไว้ก่อน เพราะที่ดินมือเปล่าเพียงผู้อื่นเข้ามาครอบครองแล้ว หากว่าเกิน 1 ปี แล้วจะไปฟ้องศาล ศาลก็จะยกฟ้อง ทั้งนี้เนื่องจากการฟ้องเพื่อเอาคืนต้องฟ้องภายใน 1 ปีนับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครอง ที่สำคัญคือ ไม่ใช่นับแต่เวลาที่เจ้าของที่ดินรู้.


ที่มา : กฎหมายควรรู้ในชีวิตประจำวัน

การขอออกโฉนด


หากคุณเป็นเจ้าของที่ดินสักผืน และอยากออกโฉนดให้กับที่ดินผืนนั้น เพื่อให้ถูกต้องตามกฏหมายคุณจะทำอย่างไร ?

การขอออกโฉนด                                                                                   
     หลักฐานในการออกโฉนด
     1. บัตรประจำตัวประชาชน ทะเบียนบ้าน
     2. ส.ค.1  น.ส.3  ใบจอง ใบเหยียบย่ำ ตราจอง น.ค.3
     3. หลักฐานการเสียภาษีที่ดิน ( กรณีไม่มี ส.ค.1 )

 
ขั้นตอน
1. ยื่นคำขอพร้อมหลักฐาน
2. นัดและทำการรังวัด และไต่สวนเจ้าของที่ดิน ผู้ปกครองท้องที่ เจ้าของที่ดินข้างเคียง
3. รังวัดเสร็จ ไม่มีเหตุขัดข้อง ประกาศแจกโฉนด 30 วัน
4. ถ้ามีผู้คัดค้าน สอบสวนเปรียบเทียบ ตกลงกันไม่ได้ เจ้าพนักงานที่ดินสั่งการ ฝ่ายที่ไม่
                   พอใจ  ไปฟ้องศาลภายใน 60 วัน ถ้าฟ้องศาลรอเรื่องจนกว่าเสร็จคดี

ค่าธรรมเนียม
1. ค่าคำขอ แปลงละ 5 บาท                                                                            
2. ค่าประกาศ แปลงละ 10 บาท
3. ค่ารังวัด แปลงละ 30 บาท
4. ค่าหลักเขต หลักละ 15 บาท
5. ค่าออกโฉนดไม่เกิน 20 ไร่ แปลงละ 50 บาท เกิน 20 ไร่ ส่วนที่เกินไร่ละ 2 บาท เศษคิดเป็น 1 ไร่

 
ค่าใช้จ่าย
1. ค่าพาหนะเดินทางและค่าเบี้ยเลี้ยงในการรังวัด
2. ค่าป่วยการให้แก่ผู้ปกครองท้องที่หรือผู้แทนรังวัด วันละ 30 บาท
3. ค่าปิดประกาศ แปลงละ 10 บาท
4. ค่าพยาน คนละ 5 บาท




ที่มา : กฎหมายควรรู้ในชีวิตประจำวัน

วันจันทร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

การขอออกใบแทนโฉนดที่ดิน

หลักฐานที่ต้องใช้
1. กรณีโฉนดชำรุด - ถ้ามีหลักฐานตรวจสอบได้ คือ ตำแหน่ง ที่ดิน เลขโฉนด ชื่อและตราประจำ
    ตำแหน่ง
    1.1 โฉนดที่ชำรุด
    1.2 บัตรประจำตัวประชาชน ทะเบียนบ้าน
2. กรณีโฉนดสูญหายหรือชำรุด ไม่สามารถตรวจสอบหลักฐานได้
    2.1 หลักฐานการรับแจ้งความของพนักงานสอบสวน
    2.2 พยานบุคคลเชื่อถือได้ เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือ ผู้รู้เห็นการสูญหาย อย่างน้อย  2 คน
    2.3 ถ้าเป็นกรณีศาลสั่งให้นำสำเนาคำสั่ง หรือคำพิพากษาอันถึงที่สุดไปด้วย

ขั้นตอน
1. กรณีโฉนดชำรุด ถ้ามีหลักฐานตรวจสอบได้ คือ ตำแหน่ง ที่ดิน เลขโฉนด ชื่อและตราประจำ
    ตำแหน่ง (ไม่ต้องประกาศ)
    1.1 สร้างใบแทนโฉนดและเสนอเจ้าพนักงานที่ดินลงนาม
    1.2 แจ้งผู้มาขอรับใบแทนโฉนด
2. กรณีโฉนดสูญหายหรือชำรุด ไม่สามารถตรวจสอบหลักฐานได้ ( ต้องประกาศ)
    2.1 จัดทำประกาศและปิดประกาศ 30 วัน
    2.2 ครบกำหนดสร้างใบแทนโฉนด
    2.3 แจ้งผู้ขอมารับใบแทนโฉนด

ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย
1. ค่าคำขอ แปลงละ 5 บาท
2. ค่าประกาศ แปลงละ 10 บาท
3. ค่าออกใบแทนโฉนด ฉบับละ 50 บาท
4. ค่าพยาน คนละ 5 บาท
 

วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

การทำพินัยกรรม

       คนไทยอาจจะถือว่าเป็นการแช่งตัวเอง แต่ถ้าดูอีกนัยหนึ่งแล้ว เป็นการเตรียมการสำหรับอนาคตที่ดี และจะได้ไม่เกิดปัญหาเรื่องการแบ่งทรัพย์สินเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันเกิดขึ้นกับคุณ และไม่ทำให้ผู้ที่อยู่เบื้อหลังยุ่งยากกับการจัดการแบ่งสรรปันส่วนกับทรัพย์สินที่คุณทิ้งไว้
        ความหมายของพินัยกรรม คือ คำสั่งครั้งสุดท้ายซึ่งแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินหรือกิจการต่างๆ ของผู้ทำพินัยกรรมเพื่อที่จะเกิดผลบังคับตามกฎหมาย ในเมื่อผู้ทำพินัยกรรมถึงแก่ความตาย โดยทำแบบใดแบบหนึ่งที่กฎหมายกำหนดไว้ คือ
           __scale__1_2418430953.gif image by fuyu_034   พินัยกรรมทำเป็นเอกสารฝ่ายเมือง        
                            1.  เงื่อนไขการทำพินัยกรรม            
                                1.2  ผู้ทำพินัยกรรมต้องมีอายุตั้งแต่ 15 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป              
                                1.3  ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือไร้ความสามารถ
   
                            2. ขั้นตอนการทำพินัยกรรมทำเป็นเอกสารฝ่ายเมือง
                                2.1  ผู้ร้องยื่นคำร้องขอทำพินัยกรรมทำเป็นเอกสารฝ่ายเมือง ณ ที่ว่าการอำเภอ
                                       กิ่งอำเภอ   เขต แห่งใดก็ได้โดยไม่ต้องคำนึงถึงภูมิลำเนา
                                2.2  ในกรณีผู้ร้องขอให้เจ้าหน้าที่ออกไปทำพินัยกรรมนอกที่ว่าการอำเภอ
                                       กิ่งอำเภอ   เขต    ภายในเขตอำนาจ จะต้องจัดหาพาหนะรับส่ง หรือจ่ายค่า
                                       พาหนะให้แก่เจ้าหน้าที่ตามสมควร

                           3.  หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง
                               3.1  บัตรประจำตัวประชาชน
                               3.2  เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ประสงค์จะทำพินัยกรรม (ถ้ามี)

            __scale__1_2418431058.gif image by fuyu_034  พินัยกรรมทำเป็นเอกสารลับ
                          1. ขั้นตอนการทำพินัยกรรมทำเป็นเอกสารลับ
                              1.1  ผู้ร้องทำพินัยกรรมขึ้นเองและผนึกซอง พร้อมกับลงลายชื่อคำบรรยายผนึกนั้น  
                              1.2  ผู้ร้องยื่นคำร้องพร้อมของพินัยกรรม ณ ที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ เขต แห่งใด
                                     ก็ได้โดยไม่ต้องคำนึงถึงภูมิลำเนา

                          2. หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง
                              2.1  บัตรประจำตัวประชาชน
                              2.2  ซองซึ่งบรรจุพินัยกรรมไว้และปิดผนึกซองเรียบร้อยแล้ว


อัตราค่าธรรมเนียมการพินัยกรรม

                        
                         1.  พินัยกรรมทำเป็นเอกสารฝ่ายเมือง ในที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ เขต ฉบับละ 50 บาท
                         2.  พินัยกรรมทำเป็นเอกสารฝ่ายเมือง นอกที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ เขต ฉบับละ
                               100  บาท
                         3.  พินัยกรรมทำเป็นเอกสารลับ ฉบับละ 20 บาท
                         4.  ค่าคัดและรับรองสำเนาพินัยกรรมฉบับละ 10 บาท
                         5.  ค่าป่วยการพยานและล่ามไม่เกินวันละ 50 บาท 

          ที่มา :  จากหนังสือกฎหมายควรรู้ในชีวิตประจำวัน